โลกาภิวัตน์ Globalization; A very short introduction

หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นที่คำถามว่า “โลกาภิวัตน์” คืออะไร? การเจริญขึ้นของสังคม? การพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี? หรืออะไรคือโลกาภิวัตน์.. ..โลกาภิวัตน์หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับโลกได้หรือไม่ น่าจะได้ งั้นคำถามต่อไปคือแล้วโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่? ในยุคอินเตอร์เนตใช่หรือไม่? หรือช่วงเวลาไหนที่เกิดนิยามความเป็น “โลกาภิวัตน์” ขึ้น? ..ถ้าเราค่อยๆย้อนกลับไปเสมือนเลื่อนลงไล่ดู Facebook Timeline ก็จะเห็น Social Media ที่เชื่อมคนทั้งโลกให้เข้าไกล้กันได้มากขึ้น…

Privacy: A Very Short Introduction ความเป็นส่วนตัว ความรู้ฉบับพกพา

ความเป็นส่วนตัวที่เป็นคดีความครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นคดีความฟ้องร้องระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ทและควีนวิคตอเรีย กับชายชาวธรรมดาสามัญชน ที่นำภาพพิมพ์ส่วนตัวของทั้งสองพระองค์ไปเผยแพร่สู่สาธารณะ ทั้งสองจึงฟ้องศาลเป็นคดีความแรกของโลกที่พูดถึงเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว” นับเป็นจุดเริ่มต้นจากนั้นเป็นต้นมา ในสหรัฐอเมริกานั้นมาตรฐานความเป็นส่วนตัวถือว่าต่ำกว่ายุโรบมากจนเทียบกันไม่ได้ การเก็บข้อมูลส่วนตัวและส่วนบุคคลของบริษัทเอกชนหรือรัฐนั้นแทบจะเป็นอิสระสะดวกสบายโดยไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายของบุคคลที่จะตามมาเลย ความเป็นส่วตัวเริ่มเสียหายอย่างเป็นจริงจังก็ตอนที่โกดักเองทำกล้องกระดาษที่ใครๆก็สามารถหาซื้อมาถ่ายกันได้ง่ายๆ นั่นเองที่ทำให้กำแพงความเป็นส่วนตัวหายไป ความเป็นส่วนตัวและความเป็นเสรีในการแสดงความคิดเห็นนั้นมีแง่มุมที่ขัดแย้งกันมานาน การพูดการแสดงออกคือเสรีภาพ แต่ถ้าเสรีภาพของการแสดงออกเป็นการไปกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นจะยังนับเป็นการแสดงออกอย่างเสรีที่ไม่ควรถูกขัดขวางงั้นหรอ ครั้งนึงคนดังอย่าง เซลีนา วิลเลียม เคยถูกช่างภาพนักข่าวแอบถ่ายภาพเธอขนะกลับจากกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด เธอฟ้องช่างภาพและหนังสือพิมพ์นั้นในการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเธอ และเธอปฏิเสธว่าเธอไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ยกฟ้องไม่เอาผิดสื่อ…

ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics: A Very Short Introduction

เป็นหนึ่งในหนังสืออีกเล่มที่ได้มาจากงานหนังสือเมื่อนานพอสมควร (จำไม่ได้ว่าหนึ่งหรือสองปีแล้ว) หลังจากช่วงนี้ได้หยิบหนังสือแนวการเมืองการปกครอง และหนังสือในชุด “ความรู้ฉบับพกพา” ของสำนักพิมพ์ Openworlds มาอ่านหลายเล่ม ก็เลยเกิดการอยากอ่านต่อเนื่องไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มความรู้เรื่องการเมืองการปกครองไว้ประดับสมองกับเค้าบ้าง ภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึงอะไร สารภาพตรงๆอ่านจนจบแล้วผมก็ยังไม่มีคำสรุปนิยามที่สั้นตรงใจจนสามารถเขียนออกมาได้ แต่ในความรู้สึกผมหลังอ่านจบผมรู้สึกว่าคำนี้เหมือนกับการนิยามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่แผนที่ กลุ่มชาติพันธุ์ ภาพยนต์ หรือแม้แต่ของเล่น กลายเป็นตัวแทนทางการเมืองได้ หรือแม้แต่สามารถปลูกฝังแนวคิดผ่านสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่งปนน่ากลัว ถ้าถูกนำไปชักจูงใช้ในทางที่ผิด…

Democracy: A very short introduction ประชาธิปไตย ความรู้ฉบับพกพา

ประชาธิปไตย…คำที่คุ้นเคยแต่ใครเอยจะรู้ว่า แท้จริงแล้วประชาธิปไตยที่เข้าใจกันมานั้นมีที่มาอย่างไร Democracy แรกเริ่มเดิมทีจากรากคำภาษากรีกโบราณ มาจากสองคำผสมกันระหว่างคำว่า Demos ที่หมายถึงประชาชน กับ Krator ที่หมายถึงการปกครอง เมื่อรวมกันแล้วก็หมายความว่า “การปกครองโดยประชาชน” ในยุคกรีกโบราณที่ประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นนั้น อริสโตเติล ปราชญ์นักคิดชื่อดังผู้สนับสนุนประชาธิปไตยคนแรกๆกลับไม่ได้สนับสนุนประชาธิปไตยที่มี “การเลือกตั้ง” ในแบบที่เป็นอยู่ ในสมัยนั้นอริสโตเติลสนับสนุนให้ใช้การ “จับฉลาก” เลือกผู้ที่จะเข้ามาทำงานหรือตัดสินใจ…

Populism : A very short introduction ประชานิยม ความรู้ฉบับพกพา

ประชานิยมคืออะไร? และอะไรไม่ใช่ประชานิยม? ขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ทำให้ผมเข้าใจความหมายและที่มาที่ไปของคำว่า “ประชานิยม” ดีขึ้น ถ้าให้ผมเดา ผมขอเดาว่าคำนี้น่าจะมาจากคำว่า “ประชาชน” บวกกับ “ความนิยม” หรือ “เป็นที่นิยม” นั่นหมายความว่าอะไรก็ตามที่คนส่วนมากนิยมชมชอบ ก็สามารถนิยามว่าประชานิยมได้ไม่ยาก เท่าที่ผมนึกออกผมเดาว่าคำนี้น่าจะเป็นที่รู้จักกันในบ้านเราตอนสมัย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่น่าจะเป็นผู้ริเริ่มนโยบายแบบประชานิยมขึ้นมา จนกลายเป็นทุกพรรคต่างต้องมีนโยบายประชานิยมในแบบของตัวเอง เท่าที่ผมนึกออกนโยบายประชานิยมในตอนนั้นที่ได้ใจประชาชนไปมาก…

Corruption: A very short introduction คอร์รัปชัน ความรู้ฉบับพกพา

สรุปรีวิวหนังสือ คอร์รัปชั่น Corruption: A very short introduction หนังสือเล่มนี้ทำให้เข้าใจความหมายของ #คอร์รัปชัน คำเดิมที่คิดว่ารู้จักดีแล้วให้ดียิ่งขึ้นและลึกซึ้งขึ้น โดยเริ่มจากบทแรกที่ถามง่ายๆว่า “คอร์รัปชันคืออะไร?” คอร์รัปชันแรกเริ่มเดิมทีมีมาตั้งแต่โบราณ และเป็นหนึ่งในวาเหตุสำคัณที่ทำให้จักรวรรดิโรมันต้องเสื่อมสลาย และด้วยการคอร์รัปชันนี่เองที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาใหม่กลายเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะผู้คนส่วนหนึ่งในตอนนั้นทนไม่ไหวกับการคอร์รัปชันของคริสตจักรโรมันคาทอลิก จากการขายใบชำระบาปที่ระบาดมากมายในตอนนั้น คอร์รัปชันแบ่งกว้างๆได้เป็นสองประเภท คือแบบ “กินหญ้า”…

Child Psychology จิตวิทยาเด็ก

สรุปหนังสือ Child Psychology จิตวิทยาเด็ก หนังสือที่จะทำให้คุณเข้าใจว่าแท้จริงแล้วทารกแรกเกิดนั้นฉลาดเฉลียวกว่าที่ผู้ใหญ่อย่างเราคิดมากเพียงใด เพราะเค้าสามารถเข้าใจเหตุผลความเชื่อมโยงได้ตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึงสามารถแยกเสียงแม่ออกจากเสียงผู้หญิงอื่นตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ด้วยซ้ำ ยังไม่นับอีกว่าทารกที่กำลังหัดเดินนั้นเป็นนักสู้มากกว่าผู้ใหญ่อย่าเราขนาดไหน เพราะเค้าล้มถึงชั่วโมงละ 17 ครั้งแล้วลุกขึ้นมาเดินต่ออย่างไม่ย่อท้อ แถมยังเดินเป็นระยะทางกว่า 700 เมตรในทุกๆชั่วโมงที่ตื่น ซึ่งรวมๆกันในหนึ่งวันเค้าเดินมากกว่า 5 กิโลเมตรด้วยซ้ำครับ มหัศจรรย์ของเด็กที่ผู้ใหญ่อย่างเราควรเรียนรู้…

KEYNES เคนส์

ถ้าใครที่ชอบอ่านแนวเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง น่าจะคุ้นกับชื่อนี้ดี ผมเองก็คุ้นชื่อ เคนส์ มานานพอสมควรเวลาอ่านหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจทีไร ก็ต้องเจอชื่อ เคนส์ คนนี้เป็นประจำ รู้แต่เพียงคร่าวๆว่า เคนส์ เป็นผู้สร้างแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญเอาไว้ให้รัฐบาลหลายประเทศในโลกใช้เป็นแนวทางอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะรัฐบาลอังกฤษ กับ อเมริกา เป็นหนังสือที่น่าจะเหมาะกับคนที่กำลังเรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์ หรืออยู่ในแวดวงนี้มากกว่าคนทั่วไป…

MARX มาร์กซ ความรู้ฉบับพกพา

Karl Marx หรือ คาร์ล มาร์กซ ชื่อที่ใครบางคนน่าจะคุ้นหูหรือคุ้นตา และถ้าเคยอ่านพวกหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองมาบ้างก็ยิ่งน่าจะคุ้นขึ้นไปใหญ่ และยิ่งถ้าบอกว่า มาร์กซ คนนี้ คือหนึ่งในผู้ทำให้แนวคิดการปกครองแบบสังคมนิยมเป็นที่ถูกอกถูกใจบรรดาผู้นำประเทศทั้งหลาย ก็คงจะร้องอ๋อกันเลยทีเดียว สิ่งที่ผมเข้าใจมาก่อนหน้าจะอ่านหนังสือเล่มนี้คือ มาร์กซ คนนี้คือผู้ที่ก่อสร้างแนวคิดสังคมนิยมให้กับโลก แต่ความจริงแล้วสังคมนิยมมีมาก่อนเค้า แต่ มาร์กซ คนนี้ทำให้แนวคิดเรื่องสังคมนิยมเป็นที่ตราตรึงใจของบรรดาผู้นำประเทศ หรือผู้นำที่มาจากการปฏิวัติทั้งหลาย…

เสรีภาพในการพูด Free Speech

เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน #HumanRights ที่ว่าด้วยมนุษย์เราล้วนเท่าเทียมกันและมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ตราบที่ไม่ไปรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น และการพูดก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นนามธรรมว่าเส้นแบ่ง หรือขอบเขตของเสรีภาพในการพูดที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ที่ไหน . ทำไมเสรีภาพในการพูดถึงสำคัญ? . เพราะในโลกประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้ผู้คนต่างแสดงความคิดเห็นได้อย่างไม่ปิดกั้นนั้นทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาความคิดนั้นให้ดียิ่งขึ้น หรือไม่ก็เป็นการลบล้างความคิดที่ไม่ดีหรือแข็งแรงพอให้ล้มหายตายจากไป . เสรีภาพในการพูดทำให้เกิดการโต้แย้ง ถกเถียง ลับคม พัฒนา ทำให้ความคิดของผู้พูดนั้นต้องวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าความคิดนั้นดีพอที่จะอยู่รอดได้ . ผู้ที่ยึดถือเสรีภาพในการพูดที่ยิ่งใหญ่และเป็นตำนานของโลกมากที่สุดคงหนีไม่พ้น #โสกราตีส…